Last updated: 7 มิ.ย. 2555 | 9103 จำนวนผู้เข้าชม |
เริ่มกันเลย >>>
1. ตรวจสอบพื้นที่หน้างาน สำหรับการติดตั้งถัง
ñ ตรวจสอบทางเข้า-ออก ของโครงการ
- ความสูงรวมของรถส่งและถัง สามารถเข้าพื้นที่หน้างาน ได้หรือไม่ เป็นต้น
2. ตรวจสอบโครงสร้างฐานรากสำหรับการลงถัง
ñ ความเหมาะสมของโครงสร้างฐานราก โดยวิศวกรหน้างาน
ñ พื้นฐานราก ต้องได้ระนาบแนวราบ โดยปราศจากสิ่งกีดขวาง เช่น เศษอิฐ เศษปูน ไม้
และ ต้องไม่มีน้ำขัง (กรณี มีน้ำใต้ดิน ต้องทำการสูบออกก่อน ที่จะทำการลงถัง)
ñ ขนาดของหลุมสำหรับลงถัง ขึ้นอยู่กับขนาดของถังบำบัดน้ำเสียที่เลือกใช้
3. ตรวจสอบทิศทางการไหลของน้ำ และระดับท่อ ของโครงการ
ñ ทิศทางการไหลของน้ำ
- น้ำเสียจากอาคาร ไหลสู่ ถังบำบัดน้ำเสีย ไหลสู่ ท่อระบายน้ำสาธารณะ
ñ ความลาดเอียง ของระดับท่อ ไม่น้อยกว่า 1:100
- ระดับท่อน้ำออกจากถัง ต้องอยู่สูงกว่า ระดับน้ำในบ่อพักน้ำทิ้ง ไม่น้อยกว่า 20 ซม.
4. การเดินท่อภายในระบบบำบัดน้ำเสีย และขั้นตอนการลงถัง
ñ นำถังลงหลุม ที่จัดเตรียมไว้ ทำการเติมน้ำใส่ถัง โดยเฉลี่ยแต่ละช่องเท่าๆ กัน
และเททราย โดยรอบถัง ต่ำกว่าระดับท้องท่อต่ำสุด ประมาณ 10 ซม.
ñ ทำการต่อท่อภายในระบบบำบัดน้ำเสีย
- ท่อระบายอากาศ ต่อขึ้นที่สูง
- ท่อจ่ายอากาศจากเครื่องเติมอากาศ(ถ้ามี)
ñ เทคอนกรีตรัดฝาถัง ขนาด 1 x 1 เมตร หนา 10 ซม. ขัดปรับพื้นให้เรียบ เสมอระดับฝาถัง
ñ ปรับพื้นสภาพหน้างานเป็นสนามหญ้าหรือสวนหย่อม ขึ้นอยู่กับทางโครงการดำเนินการ
เรามาดูข้อควรระวังกัน ....
- ติดตั้งในพื้นที่สนามหญ้า
- ใช้ทราย ในการกลบรอบถัง เท่านั้น ห้ามใช้ ดินเลน หรือวัสดุของแข็ง ในการฝังกลบถัง
เนื่องจาก อาจทำให้ถังแตกเสียหายได้
- ไม่ควรฝังถัง ลึกเกิน 30 ซม. หากต้องการฝังถังลึกเกินกว่าระดับนี้ ควรปรึกษาวิศวกร
ของบริษัทฯ ก่อนดำเนินการ
<<<กลับสู่หน้าหลัก.
9 ต.ค. 2563
9 ต.ค. 2563
9 ต.ค. 2563
9 ต.ค. 2563